ขนมไทยมีเอกลักษณ์คือความสวยงาม แสดงถึงวัฒนธรรม ความพิถีพิถันในการกินตั้งแต่อดีต วิธีการทำที่ละเอียด ปราณีต ใช้เวลา ผู้ที่จะประกอบอาชีพนี้ จึงต้องมีใจรัก มีความอดทน ขยัน รู้จักเลือกทำเลที่ตั้งให้เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย สร้างมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าประทับใจและกลายเป็นลูกค้าประจำ ซึ่งในความนิยมในการบริโภคขนมไทยของคนไทย โดยเฉพาะเด็กรุ่นใหม่น้อยลงมาก ขนมโบราณหลายชนิดต้องสูญหายไปหรือหารับประทานยาก
ภาพขนมไทยที่มีมาแต่อดีต
จากการสำรวจการบริโภคขนมไทยของคนไทย พบว่าการซื้อขนมไทยเฉลี่ยอยู่ที่ ๑,๐๐๐ บาท ต่อปี ซึ่งปัจจุบัน ในภาครัฐ จึงส่งเสริมให้มีการบริโภคขนมไทยและซื้อเป็นของฝากมากขึ้น และหวังพัฒนาธุรกิจขนมไทยสู่อุตสาหกรรมตลาดโลก ขนมไทยหลายชนิดมัศักยภาพส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นขนมแห้ง เช่น ข้าวตัง ทองม้วน ขนมเปี๊ยะ มะพร้าวแก้ว มะม่วงกวน เป็นต้น ส่วนขนมสด มีอายุการเก็บรักษาสั้น จึงค่อนข้างมีปัญหา เพราะขนมไทยเป็นอาหารที่มีความชื้นมาก ถึงแม้จะมีการพัฒนาเพื่อยืดอายุขนมไทยในขั้นตอนการผลิต และการบรรจุแล้วก็ตาม แต่รสชาติของขนมไม่อร่อยเท่ารับประทานขนมไทยสดๆ
การจัดเรียงขนมไทย
กลุ่มลูกค้าของธุรกิจขนมไทย หลักๆได้แก่ แม่บ้าน คนทำงาน ร้านอาหาร โรงแรม สายการบิน และกลุ่มนักท่องเที่ยว โดยแบ่งออกเป็น ๓ ระดับ คือ ระดับล่าง ระดับกลาง ระดับสูง
กลุ่มลูกค้าที่นิยมบริโภคขนมไทย
ประเภทของขนมไทยใช้หลักการแบ่งได้ ๒ ลักษณะ คือ
๑. แบ่งโดยคำนึงถึงชนิดของวัตถุดิบหลัก
๒. แบ่งตามการใช้วิธีการหุงต้ม โดยแยกเป็น การกวน การฉาบ การเชื่อม การต้ม การทอด การจี่
การนึ่ง การปิ้ง และการละเลง
โดยขนมครกของไทยจัดอยู่ในประเภทการปิ้ง โดยใช้เตาขนมครกในการทำ
อ้างอิง
ธัญนันท์ อบถม. ขนมหวานไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ : อมรินทร์ CUISINE, ๒๕๕๕.
กรรณิการ์ พรมเสาร์, นันทา เบญจศิลารักษ์. สำรับไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๑. เชียงใหม่ : วรรณรักษ์, ๒๕๔๒.
สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. ธุกิจขนมไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๑. ปทุมธานี :
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๔๘.
ขนมครกชาวบ้านโบราณ ได้อนุญาตให้ใช้ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า 4.0 International.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น